วันพุธที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564
ภาวะผู้นำที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ผ่านการประเมินและรับรองคุณภาพจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ในรอบที่สองที่มีผลการประเมินในระดับดีและดีมาก
ภาระงานของรองผุ้อำนวยการสถานศึกษากลุ่มบริหารงานบุคคล
Title
วันเสาร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2564
วันศุกร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2564
รูปแบบการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ABSTRACT
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษา รูปแบบการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของผู้บริหาร สถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน 2) สร้างรูปแบบการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะ กรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ 3) ประเมินรูปแบบ การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. ระดับการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของ ผู้บริหารสถานศึกษาโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อ พิจารณาเป็นรายด้านเกี่ยวกับระดับของการพัฒนา คุณธรรมจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาเรียงตาม ลำดับดังนี้ การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมด้านจรรยา บรรณทางวิชาชีพ การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม ด้านมาตรฐานวิชาชีพ และการพัฒนาด้านคุณธรรม จริยธรรม
2. ผลการศึกษาการสร้างรูปแบบการพัฒนา คุณธรรมจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษามีองค์ ประกอบหลัก 4 องค์ประกอบ และองค์ประกอบย่อย 10 องค์ประกอบ
3. ระดับความเหมาะสมของรูปแบบการ พัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมพบว่า ระดับความเหมาะสมของโดยภาพ รวมความเหมาะสมของรูปแบบการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ระดับความเหมาะสม ของรูปแบบการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของผู้บริหาร สถานศึกษาอยู่ในระดับมากทั้ง 3 ด้านเรียงตามลำดับ ดังนี้ ด้านการปรับประยุกต์ใช้รูปแบบ ด้านองค์ประกอบ ของรูปแบบ ด้านความเหมาะสมของร่างรูปแบบการ พัฒนาคุณธรรมจริยธรรม
ฐิตาภา เบ็ญจาธิกุล (2557). รูปแบบการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร. ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 พฤศจิกายน - เมษายน 2557 หน้า 81 - 94.
กลยุทธ์การพัฒนาทักษะผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดเลย
บทคัดย่อ (Abstract)
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาภาวะผู้นํา เพื่อจัดองค์ประกอบของภาวะผู้นํา และ เพื่อศึกษาอิทธิพลของภาวะผู้นําของผู้อํานวยการสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผล ของสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดําเนินการวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 การศึกษาภาวะผู้นําของผู้อํานวยการสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่ส่งผลต่อ ประสิทธิผลของสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา โดยใช้เทคนิคเดลฟาย 3 รอบ ผู้ให้ข้อมูล เป็นผู้เชี่ยวชาญ จํานวน 19 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบสอบถามปลายเปิด และแบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลทางไปรษณีย์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วย การวิเคราะห์เนื้อหา การหาค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ และค่าธานนิยม ผลการวิจัย พบว่า ภาวะผู้นําของผู้อํานวยการสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา มีจํานวน 55 ตัวชี้วัด ระยะที่ 2 การจัดองค์ประกอบภาวะผู้นําของผู้อํานวยการสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาและ การศึกษาอิทธิพลของภาวะผู้นําของผู้อํานวยการสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผล ของสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารในสํานักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษา จํานวน 550 คน เลือกโดยวิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิตามสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นในส่วนภาวะผู้นําของ ผู้อํานวยการเขตพื้นที่ เท่ากับ 0.911 และในส่วนของประสิทธิผลของสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา 0.951 ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลทางไปรษณีย์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหา ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสํารวจ และ ผลการวิจัย พบว่า ภาวะผู้นําของผู้อํานวยการสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา มี 7 ด้าน คือ ด้านการเป็นผู้นํา การเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา มี 22 ตัวชี้วัด ด้านความรู้ความเข้าใจต่อสถานการณ์ที่เกี่ยวข้อง มี 6 ตัวชี้วัด ด้านความรู้ความเข้าใจทางการเมืองเศรษฐกิจและสังคม มี 5 ตัวชี้วัด ด้านการพัฒนาตนเอง
ก้องนเรนท์ พลชา (2561). กลยุทธ์การพัฒนาทักษะผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดเลย. เลย : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดเลย.
ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนกับประสิทธิผล ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 19
Title
-
Title พฤติกรรมการตัดสินใจในการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงราย เขต 2 Title Alternative Decision-Mak...
-
Title ภาระงานของรองผุ้อำนวยการสถานศึกษากลุ่มบริหารงานบุคคล Title Alternative The school vice administrator functions in personnel administ...